เมนู

มีโทษน้อย แต่มุสาวาทของบรรพชิตผู้กล่าวโดยนัยมีอาทิว่า ไม่เห็นเลยว่า
เห็น ดังนี้ ชื่อว่า มีโทษมาก. (องค์) ของนี้มุสาวาทนั้น มี 4 อย่าง คือ
1. อตถํ วตฺถุ (เรื่องไม่จริง)
2. วิสํวาทนจิตฺตํ (คิดจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน)
3. ตชฺโช วายาโม (พยายามเกิดด้วยความคิดนั้น)
4. ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ (คนอื่นรู้เนื้อความนั้น)
ประโยคของมุสวาทมีอย่างเดียว คือสาหัตถิกปโยคะเท่านั้น. มุสาวาท
นั้นพึงทราบโดยการกระทำกิริยาของผู้กล่าวให้คลาดเคลื่อนด้วยกาย หรือด้วย
ของเนื่องด้วยกาย หรือด้วยวาจา. ถ้าบุคคลอื่นรู้เนื้อความนั้นด้วยกิริยานั้น
เจตนาอันตั้งขึ้นด้วยกิริยานี้ ย่อมผูกพันโดยกรรมที่เป็นมุสาวาทในขณะนั้น
ทีเดียว. อนึ่ง เมื่อบุคคลสั่งว่า เจ้าจงกล่าวแก่บุคคลนี้ ดังนี้ก็ดี เมื่อเขียน
หนังสือทิ้งไปข้างหน้าก็ดี เมื่อเขียนติดไว้ที่ข้างฝาเรือนเป็นต้นโดยประสงค์ว่า
บุคคลนี้พึงทราบอย่างนี้ก็ดี โดยประการที่ให้บุคคลอื่นกล่าวให้คลาดเคลื่อนจาก
กาย หรือจากวัตถุเนื่องด้วยกาย หรือด้วยวาจา เพราะฉะนั้น แม้ประโยคทั้งหลาย
คือ อาณัตติปโยคะ นิสสัคคิยปโยคะ ถาวรปโยคะ ก็ย่อมสมควรในมุสาวาทนี้
แต่เพราะไม่มีมาในอรรถกถาทั้งหลาย จึงควรพิจารณาก่อนแล้วถือเอา.

ว่าด้วยปิสุณาวาจาเป็นต้น



พึงทราบวินิจฉัยในปิสุณาวาจาเป็นต้น
บุคคลย่อมกล่าววาจาก่อนบุคคลใดย่อมกระทำความรักของตนในหัวใจ
ของบุคคลนั้น ให้เกิดการป้ายร้ายแก่บุคคลอื่น วาจานั้น ชื่อว่า ปิสุณาวาจา.
ก็วาจาใด ย่อมกระทำความหยาบคายให้ตนบ้าง ให้ผู้อื่นบ้าง วาจานั้น ชื่อว่า
ผรุสวาจา. อีกอย่างหนึ่ง วาจาใด ทำความหยาบคายเอง ไม่เพราะหู ไม่จับใจ